“อร่าม ชวเจริญพันธ์ – อดิศรา วรรธนาศิรกุล” : ผ่าธุรกิจเครือข่ายหลังโควิด เทรนด์ใหม่ที่ยังแรงไม่หยุด

PEOPLE

ผ่าธุรกิจเครือข่ายหลังโควิด เทรนด์ใหม่ที่ยังแรงไม่หยุด
อร่าม ชวเจริญพันธ์ – อดิศรา วรรธนาศิรกุล

อดีตวิศวกรหนุ่ม-ภรรยา รายได้เดือนละ บาท ปี ฟันเงินล้าน

 ในห้วงเวลาที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการเงินแนะนำว่า ควรชะลอการลงทุน เก็บเงินสดไว้กับตัวดีที่สุด แต่กับธุรกิจเครือข่ายกลับสวนกระแส มีผู้เข้าร่วมธุรกิจเพิ่มขึ้นราว 80% และยังคงเติบโตอย่างไม่หยุด

            แม้ไม่ได้ “บอร์นทูบี” แต่ถ้า “วอนนาบี อะ มิลเลียนแนร์” เป็นได้ไม่ยาก ถ้ามีความมุ่งมั่น ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ที่สำคัญคือ เปิดโอกาสให้ตนเองได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ 

            …คือหัวใจสำคัญที่ อร่าม ชวเจริญพันธ์ – อดิศรา วรรธนาศิรกุล ยึดถือ และทำให้วันนี้ทั้งคู่กลายเป็นนักธุรกิจระดับ Crown Diamond President ที่ขึ้นทำเนียบมนุษย์เงินล้านไปแล้ว   ปฏิเสธไม่ได้ว่าอานิสงส์จากโควิด-19 ทำให้ธุรกิจออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด การปรับตัวจาก On Ground ก้าวสู่ Online เป็นปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้ช่วงเวลาเพียงไม่กี่เดือน “เลกาซี” สามารถสร้างยอดขายสูงสุดในรอบ 6 ปี ทุบสถิติรายได้กว่า 220 ล้านบาท

            “ปัจจุบัน โซเชียลเน็ตเวิร์คทำให้การกระจายเรื่องราวหรือสิ่งที่ต้องการสื่อสารทำได้รวดเร็ว อย่างยุคก่อนคนอาจจะเชื่อถือดารา ดาราใช้สินค้าอะไรก็ใช้ตาม เชื่อว่ามันดีแน่ๆ แต่ตอนนี้โลกมันเปลี่ยน จากยุคของ “ไมโคร อินฟลูเอนเซอร์” เปลี่ยนเป็นยุค “นาโน อินฟลูเอนเซอร์” คนเริ่มเชื่อคนใกล้ตัวมากขึ้น เชื่อคนที่เป็นคนธรรมดามากขึ้น นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาบวกกันพอดีกับการที่คนมองหาสุขภาพ มองหารายได้เพิ่ม และยุคโควิดเราต้องยอมรับว่ากระแสโซเชียลแรงขึ้น” อร่าม อธิบายถึงแรงบวกที่ส่งผลให้ธุรกิจเครือข่ายวันนี้อยู่บนเส้นกราฟที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

            อดีตวิศวกรย้อนชีวิตก่อนจะก้าวเข้ามาอยู่ใต้ร่ม บริษัท เลกาซี่ คอร์ป จำกัด เมื่อ ปีก่อนว่า ตนเองแม้จะมีประสบการณ์เป็นวิศวกรได้เพียง 2 เดือนก็ก้าวออกมาเป็นนายตัวเองด้วยการเป็นติวเตอร์สอนวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ให้กับนักเรียนมัธยมปลาย มีรายได้ระดับดีถึงดีมาก

            ทว่า 1 ปีให้หลังจากที่มองว่ามีรายได้ดีมาก แต่การที่ต้องสอนทุกวัน เริ่มส่งผลต่อสุขภาพ จึงมองหาอาชีพที่ให้ทั้งเงิน สุขภาพ และเวลา เมื่อมาศึกษาก็พบกับธุรกิจเครือข่าย

 

How to Become a Millionaire

            อร่าม อธิบายว่า แนวคิดของธุรกิจเครือข่ายคือ “ใช้ดีแล้วบอกต่อ” นั่นคือ 1. เราต้องใช้สินค้าก่อนจนเกิดความมั่นใจ 2. ศึกษาลึกลงไปในรายละเอียดคุณสมบัติของสินค้านั้นๆ ว่า ที่ใช้ดีเป็นเพราะอะไร อย่างไร 3. เมื่อมั่นใจแล้วเราจะกล้า “บอกต่อด้วยความสบายใจ” 4. การดูแลระยะยาวด้วยความจริงใจ เราไม่ต้องการให้คนที่ซื้อสินค้าแล้วหายไปจากการดูแลไม่ดี ด้วยเชื่อว่าถ้าสินค้าดีจริงและอยู่ภายใต้การดูแลที่ดี ทุกคนจะใช้ซ้ำ  เพราะสินค้าทุกตัวของเลกาซีคือเครดิตชีวิตเรา จะมีประโยชน์อะไรถ้าเราทำธุรกิจนี้เราได้แต่เงิน แต่ไม่ได้เครดิต คนรอบตัวไม่อยากอยู่ใกล้เพราะกลัวถูกเสนอขาย ถูกกดดันให้ซื้อสินค้า

            นักธุรกิจเงินล้านบอกว่า ความยากของการทำธุรกิจเครือข่ายในเบื้องต้นแน่นอนว่าคือ การเรียนรู้ และต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเยอะมาก ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ทุกคนต้องเจออยู่แล้ว ฉะนั้นมุมมองของตนเองสิ่งที่ยากยิ่งกว่าคือ การทำให้คนใกล้ตัวเข้าใจ     

            “เดือนแรกที่เริ่มทำธุรกิจเครือข่ายมีรายได้เข้า 4 บาท คุณอ่าย (อดิศรา วรรธนาศิรกุล-ภรรยา) ทักว่าอย่าทำเลย”

            พอเดือนที่ 2 มีรายได้ 1 หมื่นบาท เดือนที่ 3 มีรายได้ 3 หมื่นบาท ซึ่งเทียบกับการสอนพิเศษถือว่าน้อยกว่า แต่สิ่งที่พบคือ อัตราการเติบโตของธุรกิจที่สูงมาก จึงมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าเต็มที่ ขณะที่ภรรยาเริ่มให้ความสนใจเข้ามาทดลองใช้สินค้าบ้าง

            “ต้องยอมรับว่าเราเติบโตเร็วขึ้นเพราะคนใกล้ตัวให้การสนับสนุนด้วย”

            อร่ามบอกว่า 3 เดือนต่อมา คือเดือนที่ 6 ของการทำธุรกิจเครือข่ายมีรายได้ 1 แสนบาท พอเดือนที่ 8 ก็มีรายได้ประมาณ 1.3-1.4 แสนบาท ซึ่งมากกว่ารายได้ของทั้งคู่รวมกัน

         

   ทางด้าน อดิศรา ที่มีดีกรีการศึกษาเกียรตินิยมอันดับ 2 ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แม้ครอบครัวจะมีธุรกิจโรงงานอาหารทะเลแปรรูป แต่เธอเลือกที่จะไปทำงานด้านการศึกษาที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อกลับมาเมืองไทยเธอมีงานประจำ มีรายได้มั่นคง จากที่เคยยืนคนละด้านกับสามี เธอบอกว่าสิ่งที่ทำให้ตัดสินใจเข้าร่วมธุรกิจเครือข่ายเป็นเพราะ “ผลลัพธ์ปลายทาง” ที่ต้องการพิสูจน์ ถ้าเป็นจริงอย่างที่ฟังมาก็คุ้มค่าที่จะทุ่มเทให้สักครั้ง   

            “ปีแรกที่ทำบอกเลยว่าเป็นปีที่เหนื่อยที่สุดในชีวิต” เพราะยังทำงานประจำอยู่ ซึ่งต้องไม่ให้บกพร่องต่อหน้าที่ โดยใช้เวลาหลัง 5 โมงเย็นไปแล้ว ขณะเดียวกันก็ต้องทุ่มเทให้กับธุรกิจเครือข่าย ซึ่งความที่เป็นสิ่งใหม่ในชีวิต จึงต้องศึกษา ต้องเรียนรู้เยอะมาก เพียงไม่ถึง 8 เดือน ผลลัพธ์จากธุรกิจเครือข่ายมากกว่ารายได้จากงานประจำ จึงมั่นใจว่าสามารถประสบความสำเร็จบนเส้นทางนี้ได้อย่างแน่นอน

             

เปลี่ยนการดูแลตัวเราให้เป็นการทำเงิน

                โควิ19 เป็นปัจจัยสำคัญของการปรับเปลี่ยนการทำงานในช่วงที่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม แต่ถามว่าส่งผลกระทบไหม อร่ามตอบเต็มเสียงว่า “ไม่” เพราะความต้องการพื้นฐานของทุกคนไม่ต่างกันคือ หนึ่ง การมีสุขภาพกายที่ดี สอง มีสุขภาพทางการเงินที่ดี ซึ่งงานส่วนใหญ่ให้ไม่ครบทั้งสองอย่าง แต่ธุรกิจเลกาซีในมุมมองของผมให้ทั้งสองอย่าง “เราสามารถเปลี่ยนการดูแลตัวเราให้เป็นการทำเงินได้”

            พร้อมกับอธิบายขยายความว่า ในยุคโควิดคนเริ่มตระหนักเรื่องการดูแลตัวเองมากขึ้น ทุกคนใส่แมสก์ คุยเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกัน ตรงนี้เป็นสิ่งที่เลกาซีมีอยู่แล้ว ยังเริ่มเซฟตัวเองมากขึ้น อยากจะมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น การทำงานหลายๆ งานในเวลาเดียวกันกลายเป็นค่านิยมของคนในปัจจุบัน ด้วยเลกาซีตอบโจทย์ทั้งสองเรื่อง ตอบโจทย์การเป็นอาชีพที่สอง ทุกคนเริ่มต้นธุรกิจได้ด้วยเงินหลักร้อยหลักพัน แต่ได้ระบบซัพพอร์ทการทำงานหลักล้าน ทำให้รู้สึกว่าเป็นงานที่สามารถเริ่มต้นได้เลย เพราะด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้ทำให้ไม่มั่นใจที่จะลงทุนด้วยจำนวนเงินที่สูง

            จริงอยู่ที่ว่า ใช่ว่าทุกคนอยากรวย แต่เชื่อว่าทุกคนอยาก “มีพอ”

            “…เราไม่มีทางได้อะไรใหม่ๆ จากการกระทำแบบเดิมๆ” เพราะฉะนั้นเราต้องทำอะไรเพิ่ม อาจจะเป็นสิ่งที่เราไม่เคยทำ อยากให้กำลังใจให้มีความ “กล้าหาญ” มากพอที่จะทำสิ่งที่ไม่เคยทำ ยอมเปิดใจฟังสิ่งที่ไม่เคยทำ หรือไม่เคยชอบฟัง ลองรวบรวมความกล้าหาญตรงนั้นดู ซึ่งไม่ได้หมายถึงกับเลกาซีเท่านั้น แต่หมายถึงในงานอื่นๆ ด้วย

            ทั้งนี้ การที่ธุรกิจเครือข่ายมีภาพจำที่ไม่ดี อร่ามวิเคราะห์จากประสบการณ์ที่ได้คลุกคลีมาตลอด 5 ปีเต็มว่า มีสาเหตุมาจาก “พฤติกรรม” ของคนทำ ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่อาจจะเข้ามาทำธุรกิจเครือข่ายแล้วเห็นว่ามันง่าย จึงทำในแบบของตนเอง ไปขายเพื่อน ไปตื้อกดดันเพื่อนให้ซื้อ และกลุ่มที่ คือ กลุ่มที่ตั้งใจจะทำธุรกิจผิดกฎหมาย แต่ใช้คำว่าธุรกิจเครือข่ายเป็นหน้าบ้าน จึงมีคนฝังใจว่าธุรกิจเครือข่ายเป็นธุรกิจที่หลอกเอาเงิน แต่ในความเป็นจริงนั่นไม่ใช่ธุรกิจเครือข่ายอยู่แล้ว

            อร่ามบอกอย่างมั่นใจว่า คนสองกลุ่มนี้จะลดลงไปเรื่อยๆ ด้วยสื่อสารมวลชนที่มีความเข้าใจมากขึ้น โซเชียลมีเดียที่รวดเร็วขึ้น ทำให้รู้เท่าทันมากขึ้น เชื่อว่า การตลาดที่จะมาแรงที่สุดคือ การตลาดแบบ “ใช้ดีแล้วบอกต่อ” อย่างไรก็ไปได้อีกไกล โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เทคโนโลยีทำให้การสื่อสารไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

            ธุรกิจเครือข่ายในเมืองไทยยังมีพื้นที่อีกมาก ยังมีคนที่ยังมองหาการทำธุรกิจของตนเองแต่อาจจะขาดปัจจัยเริ่มต้น เรื่องของเงินทุนเรื่องของความรู้อีกมาก ฉะนั้นยังไปได้อีกไกล